วิวัฒนาการของ HFC (HFC Evolution) Ep1
พูดถึงเรื่องโครงข่ายในระบบ CATV ที่เป็น HFC (Hybridge Fiber Coaxial) หลายๆ ท่านน่าจะเคยได้ยิน ได้ฟังคำๆ นี้มาบ้างแล้ว แต่ท่านรู้หรือไม่ว่ามันคืออะไร มีลักษณะอย่างไร ต้องใช้อะไรบ้างในโครงข่าย และ มีวิวัฒนาการการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปในทิศทางไหน เรามาร่วมศึกษาไปพร้อมๆกันเลยครับ
ขอแบ่งวิวัฒนาการของ HFC (Hybridge Fiber Coaxial) ออกเป็น 5 ช่วง ตามนี้
![](https://image.makewebeasy.net/makeweb/0/fwsVrxqVa/4K/วิวัฒนาการของ_HFC.jpg)
รูปภาพที่ 1 วิวัฒนาการของ HFC (Hybridge Fiber Coaxial)
- Node+Many
เป็นยุคแรกๆที่เริ่มนำ ระบบไฟเบอร์ อ๊อฟติคมาใช้งาน โดยราคาของอุปกรณ์ ยังมีราคาสูงมาก จึงทำให้ ใช้ Node หรือ ตัวรับ สัญญาณ ไฟเบอร์อ๊อฟติคยังไม่มาก ต่อ 1 Node จะใช้ Amplifier ต่อท้ายไปจำนวนมาก เพื่อให้สามารถส่งสัญญาณได้ไกลมากขึ้น และใช้ Node จำนวนน้อยลง เพื่อลดต้นทุน แต่คุณภาพสัญญาณภาพก็ยังดีกว่าโครงข่ายที่เป็น Coaxial อย่างเดียว - Node+3
ผ่านยุค Node + Many มา เมื่อมีการใช้งานอุปกรณ์ไฟเบอร์อ๊อฟติคกันอย่างแพร่หลาย ราคาอุปกรณ์จึงเริ่มลดลงสามารถจับต้องได้ และ เป็นที่นิยมมากขึ้น ประกอบกับเริ่มมีระบบ EoC (Ethernet on Cable) เข้ามาบริการด้วย จึงกำเนิดยุค Node + 3 ขึ้นมา ด้วยข้อจำกัดของ การส่งข้อมูลขา Up stream หรือ Up Load ที่ไม่สามารถ ส่งไกลเกิน Amplifier จำนวน 3 ตัวได้ ด้วยข้อจำกัดของ Insertion Loss ในสาย Coaxial ประกอบกับ เจ้าของโครงข่ายมีการส่งจำนวนช่องรายการมากขึ้น ต้องการควบคุมคุณภาพของสัญญาณให้ดีมากขึ้น เมื่อใช้ความถี่สูงมากขึ้นทำให้การควบคุมระดับสัญญาณยากมากขึ้นไปด้วย Node + 3 จึงตอบโจทย์ทุกปัญหาในยุคดังกล่าวได้เป็นอย่างดี - Node+1
ถัดจาก Node +3 เริ่มมีการพัฒนา มาเป็น Node + 1 เนื่องได้ราคาอุปกรณ์ที่ถูกลงมาก และ การใช้ไฟเบอร์เยอะขึ้นทำให้การ Service ในส่วนของโครงข่าย ลดลง ง่ายต่อการปรับสัญญาณ และ ยังได้คุณภาพสัญญาณที่ดีขึ้นด้วย จึงทำให้เกิดยุค Node + 1 ขึ้นมา - Node+0
ถัดมาไม่นาน ก็เริ่มมีผู้ให้บริการนำโครงข่าย Node + 0 มาใช้งาน เพราะ ลดปัญหาทุกอย่างได้ สัญญาณจาก Node ผ่านTap วิ่งเข้าไปที่บ้านของ ลูกค้าโดยตรงโดยไม่ต้องผ่าน Amplifier ระบบ Node + 0 หรือ มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า RFoG (RF Over Glass) เป็นวิวัฒนาการ ก่อนที่จะไปถึงระบบสุดท้ายที่ผมจะกล่าวถึงในบทความนี้ - FTTx
วิวัฒนาการล่าสุดตอนนี้ คือ FTTx (Fiber To The x) เป็นโครงข่ายแบบ PON (Passive Optical Network) โครงข่ายที่ไม่มีการใช้ฟเลี้ยงระหว่างทาง โดยจะเดินสายไฟเบอร์เข้าไปยังบ้านลูกค้าโดยตรง และนำ Node วางไว้ที่บ้านลูกค้า ทำให้โครงข่ายเป็นเพียวไฟเบอร์ จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกที่ว่า FTTx (Fiber to the x)
By MiMhee
![](https://image.makewebeasy.net/makeweb/0/fwsVrxqVa/DefaultData/Download_microsoft_office_2016_free_license.png)
นัดสำรวจพื้นที่ หรือ ออกแบบ และ ประเมินราคา
ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
บริการหลังการขาย SLA 12 ชั่วโมง สำหรับกรุงเทพ และปริมณฑล, 24 ชั่วโมง สำหรับต่างจังหวัด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Facebook / QR Code
@hstn.co.th / QR Code
info@hstn.co.th
โทร. 02-889-4701, 02-889-4702 แฟกซ์. 02-889-4700
คอลเซ็นเตอร์ : 082-726-5320, 082-726-5321, 082-726-5322