ความแตกต่างระหว่างกล้องวงจรปิดแบบ Analog (คือสัญญาณ Analog และ Digital ที่วิ่งบนสาย Coaxial)
และ IP (Date IP ที่วิ่งบนสาย UTP LAN)
หัวข้อ | กล้องวงจรปิดแบบ Analog | กล้องวงจรปิดแบบ IP |
คุณภาพของภาพ | ความละเอียดต่ำ (720p - 1080p ในระบบ HD Analog) | ความละเอียดสูง (ตั้งแต่ 2MP, 4MP, 8MP ไปจนถึง 4K) |
การส่งข้อมูล | ส่งสัญญาณผ่านสาย Coaxial | ส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย IP (LAN/Wi-Fi) |
ฟีเจอร์ AI อัจฉริยะ | ไม่มี | รองรับฟีเจอร์ AI เช่น การจดจำใบหน้า, การตรวจจับวัตถุจน |
ระยะทางติดตั้ง | ไม่เกิน 300 เมตร (อาจต้องใช้ Booster ถ้าไกลกว่านี้) | ไกลกว่า ขึ้นอยู่กับเครือข่าย Fiber Optic เชื่อมต่อได้หลายกิโลเมตร |
การเดินสาย | ต้องเดินสาย Coaxial แยกกับสายไฟ | ใช้สาย LAN เส้นเดียว (รองรับ PoE จ่ายไฟและส่งข้อมูลในสายเดียว) |
ต้นทุนติดตั้ง | ต่ำกว่า แต่ใช้ได้แค่ระบบพื้นฐาน | ต้นทุนสูงกว่า แต่คุ้มค่าในระยะยาว รองรับฟีเจอร์ใหม่ เช่น AI |
การบันทึกข้อมูล | บันทึกใน DVR | บันทึกใน NVR (รองรับระบบ Cloud) |
ความยืดหยุ่น | ระบบปิด ติดตั้งกล้องเพิ่มลำบาก | ระบบเปิด เพิ่มกล้องหรืออัปเกรดระบบได้ง่าย |
จะเห็นได้ว่าจากตารางที่ผมได้เปรียบเทียบมานั้น คือสิ่งที่แตกต่างของทั้ง 2 แบบ ซึ่งบางท่านคงรู้อยู่แล้ว แต่ยังคงไม่มั่นใจในการที่จะลงทุนหรือปรับเปรียบระบบใหม่ทั้งหมด ในกรณีที่ลูกค้าต้องการติดตั้งระบบกล้องวงจรปิด ณ สถานที่แห่งใหม่ ที่ตึกใหม่พึ่งสร้าง หรือ ต้องการอัปเกรดระบบเดิมที่ใช้อยู่ และยังกังวลในเรื่องค่าใช้จ่ายที่สูง วันนี้ผมจะพามาดูถึงสิ่งที่ลูกค้าควรพิจารณา ทั้งข้อดีและข้อควรระวัง
________________________________________________________
ข้อดีของกล้อง IP ที่ลูกค้าควรพิจารณา
คุณภาพภาพที่ดีกว่า
กล้อง IP รองรับความละเอียดสูง เช่น 4K ซึ่งให้ภาพคมชัด รายละเอียดครบถ้วน โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ต้องการตรวจสอบอย่างเข้มงวด เช่น จุดเข้า-ออก หรือพื้นที่ที่มีการจราจรสูง
รองรับฟีเจอร์ AI อัจฉริยะ
ระบบที่ยืดหยุ่นและปรับขยายง่าย
กล้อง IP สามารถเพิ่มจำนวนกล้องในระบบได้ง่าย เพียงเชื่อมต่อกับเครือข่าย LAN หรือ Wi-Fi แตกต่างจากระบบ Analog ที่ต้องเพิ่มช่องบน DVR และเดินสาย Coaxial ใหม่
รองรับการเชื่อมต่อระยะไกล
ด้วยการเชื่อมต่อเครือข่าย กล้อง IP สามารถดูภาพสดหรือย้อนหลังผ่านแอปพลิเคชันจากทุกที่ โดยไม่ต้องพึ่งพาอุปกรณ์เฉพาะ
รองรับระบบ PoE (Power over Ethernet)
กล้อง IP ใช้สาย LAN เพียงเส้นเดียวในการจ่ายไฟและส่งข้อมูล ลดความยุ่งยากในการเดินสายไฟแยกต่างหาก
ประสิทธิภาพระยะยาว
ระบบ IP รองรับการอัปเกรดและปรับเปลี่ยนในอนาคตโดยไม่ต้องรื้อถอนระบบทั้งหมด
________________________________________________________
ข้อควรพิจารณาในการเปลี่ยนจากกล้อง Analog เป็น IP
1. ต้นทุนเริ่มต้น
กล้อง IP มีราคาสูงกว่า Analog รวมถึงอุปกรณ์เสริม เช่น NVR และ Switch PoE อาจทำให้ต้องใช้งบประมาณมากในช่วงเริ่มต้น
2. การเดินสายและอุปกรณ์เครือข่าย
หากโครงสร้างสายเดิมเป็น Coaxial ต้องเปลี่ยนเป็น LAN ซึ่งอาจเพิ่มต้นทุนในการติดตั้ง
3. ความปลอดภัยของเครือข่าย
ระบบ IP มีความเสี่ยงต่อการถูกแฮก หากไม่มีการตั้งค่าความปลอดภัยที่เหมาะสม เช่น Firewall หรือการเข้ารหัสข้อมูล
คำแนะนำสำหรับลูกค้า
Pongsakorn Matho
Author
Sale at High Solution ทำงานสายเซลล์แต่ใจชอบ Content Creator ชื่นชอบการท่องเที่ยว
รักการดูแลตัวเอง มีความสุขเวลาได้ทำงานรีวิว งานพากย์เสียง พร้อมครีเอทเรื่องราว ให้ติดหูคนอ่าน