1.ลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรม (Composition Copyright)
คุ้มครอง: เนื้อร้อง ทำนอง และโครงสร้างดนตรีพื้นฐานของเพลง
เจ้าของ: ผู้แต่งเพลง หรือผู้ประพันธ์ดนตรี
สิทธิ: มีสิทธิ์ในการทำซ้ำ ดัดแปลง แสดงต่อสาธารณะ และแจกจ่ายผลงาน
2. ลิขสิทธิ์ในการบันทึกเสียง (Sound Recording Copyright)
คุ้มครอง: การบันทึกเสียงเพลงลงในสื่อต่างๆ เช่น ซีดี แผ่นเสียง ไฟล์ดิจิทัล
เจ้าของ: ผู้ผลิตเสียงบันทึก เช่น สตูดิโอ บริษัทบันทึกเสียง
สิทธิ: มีสิทธิ์ในการทำซ้ำและแจกจ่ายเสียงบันทึกนั้นๆ
3. ลิขสิทธิ์ในการเรียบเรียงเสียงประสาน (Arrangement Copyright)
คุ้มครอง: การเรียบเรียงดนตรีใหม่จากเพลงต้นฉบับ เช่น การทำดนตรี Cover
เจ้าของ: ผู้เรียบเรียงดนตรี
สิทธิ: มีสิทธิ์ในส่วนที่ตนเองได้เรียบเรียงขึ้นมา
สิทธิที่เกี่ยวข้องกับงานดนตรีกรรมอันมีลิขสิทธิ์หลักๆ มีอยู่ 3 ประเภท
└ สิทธิในการเผยแพร่ต่อสาธารณชน (Communication to the Public / Public Performing Right):
หมายถึงการนำเพลงไปเผยแพร่ต่อสาธารณชน เช่น การเปิดเพลงในร้านอาหาร การแสดงสด
└ สิทธิในการทำซ้ำ (Mechanical Right/ Reproduction Right): หมายถึงการทำซ้ำเพลง เช่น การผลิตแผ่นซีดี การดาวน์โหลดเพลง
└ สิทธิทำซ้ำประกอบภาพเคลื่อนไหว (Synchronization Right): หมายถึงการนำเพลงไปประกอบภาพเคลื่อนไหว เช่น ภาพยนตร์ โฆษณา
เหตุผลที่ต้องรู้เกี่ยวกับลิขสิทธิ์เพลง
ปกป้องผลงาน: การทำความเข้าใจลิขสิทธิ์จะช่วยให้คุณสามารถปกป้องผลงานของคุณจากการละเมิดได้
ใช้ประโยชน์จากผลงาน: คุณสามารถอนุญาตให้ผู้อื่นนำเพลงของคุณไปใช้ได้ โดยมีการเจรจาเรื่องค่าลิขสิทธิ์
หลีกเลี่ยงปัญหาทางกฎหมาย: การใช้เพลงโดยไม่ได้รับอนุญาตอาจก่อให้เกิดปัญหาทางกฎหมายได้
ปัญหาและข้อเสียของการใช้เพลงที่ละเมิดลิขสิทธิ์
ค่าใช้จ่ายทางกฎหมายที่สูงขึ้น: แน่นอนครับว่า ธุรกิจที่ละเมิดลิขสิทธิ์อาจต้องเสียค่าปรับและค่าเสียหาย ซึ่งบางครั้งอาจมากกว่าค่าธรรมเนียมลิขสิทธิ์ที่ถูกต้อง การไม่รู้จักข้อจำกัดอาจทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่เกินจำเป็นในระยะยาว ไม่ดีแน่นอนแบบนี้
ภาพลักษณ์ขององค์กร: ธุรกิจที่ถูกฟ้องร้องเรื่องลิขสิทธิ์มีโอกาสทำให้เสียชื่อเสียง เนื่องจากผู้บริโภค อาจมองว่าบริษัทไม่เคารพสิทธิ์ของศิลปินหรือผู้สร้างผลงาน ดยเฉพาะในกลุ่มคนเจนเนอเรชันใหม่ ๆ เช่น เจน Z และ เจน Alpha ที่มีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญกับความถูกต้องทางกฎหมายและความยุติธรรมในการสร้างสรรค์งาน นี่เป็นผลมาจากการตระหนักรู้และการศึกษาเกี่ยวกับสิทธิของศิลปินที่เพิ่มขึ้นในสังคม โดยพวกเขามักมองว่าการละเมิดลิขสิทธิ์ไม่ใช่เพียงแค่การผิดกฎหมาย แต่ยังเป็นการไม่เคารพต่อความพยายามและความคิดสร้างสรรค์ของผู้สร้างผลงานด้วย
การสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ: การละเมิดลิขสิทธิ์อาจทำให้สูญเสียโอกาสในการร่วมงานกับพันธมิตรทางธุรกิจที่มีชื่อเสียง ซึ่งต้องการทำงานกับองค์กรที่เคารพกฎหมายและมีความรับผิดชอบ
ข้อดีของการใช้เพลงที่ถูกลิขสิทธิ์
การเลือกใช้เพลงที่ถูกลิขสิทธิ์ช่วยให้องค์กรไม่ต้องกังวลเรื่องปัญหาทางกฎหมาย นอกจากนี้ยังสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจ โดยแสดงให้เห็นว่าองค์กรให้ความสำคัญกับความคิดสร้างสรรค์ของศิลปิน นอกจากนี้การใช้เพลงที่ถูกลิขสิทธิ์ยังช่วยเพิ่มบรรยากาศที่ดีให้แก่ลูกค้า เพราะเพลงที่เหมาะสมและถูกลิขสิทธิ์สามารถช่วยเสริมความประทับใจให้กับประสบการณ์การใช้บริการของลูกค้าได้
ช่วงท้ายของบทความ
ลิขสิทธิ์เพลงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและมีรายละเอียดปลีกย่อยมากมาย หากคุณมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับลิขสิทธิ์เพลง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายลิขสิทธิ์
@kupmaxap Editor : Apisit Srisilarak Job position : Marketing Highsolution |