Digital signage คืออะไร

Digital signage คืออะไร

Digital signage คืออะไร

 

Digital Signage ดิจิตอลไซเนจ เป็นคำผสมมาจากคำศัพท์ 2 คำ คือ

        1. ดิจิตอล (Digital) ซึ่งหมายถึงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์อิเลคทรอนิคส์ ที่ทำงานได้รวดเร็วแม่นยำและมีความถูกต้องสูง

รูปภาพที่ 1 ตัวอย่างวงจรอิเลคทรอนิคส์ดิจิตอล

 

         2. ไซเนจ (Signage) ซึ่งหมายถึงป้ายโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ที่ใช้ทำประชาสัมพันธ์สื่อสารข้อความจากผู้ที่ต้องการสื่อสารไปยังบุคคลจำนวนมากเพื่อให้รับรู้ข่าวสารพร้อมๆ กัน

รูปภาพที่ 2 ตัวอย่าง ไซเนจที่เป็นป้ายโฆษณา

 

         ในที่นี้ ดิจิตอลไซเนจ (Digital Signage) จึงหมายถึง สื่อประชาสัมพันธ์ที่ควบคุมการทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์อิเลคทรอนิคส์ ซึ่งรูปแบบการแสดงผลในรูปแบบภาพและเสียงทำให้ สามารถดึงดูดความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายได้อย่างน่าสนใจ และมีความหลากหลายในการสร้างรูปแบบประชาสัมพันธ์

         ปัจจุบันจะเห็นว่าป้ายโฆษณาที่เป็นวิวบอร์ด (รูปวาด) ได้ถูกแทนที่ด้วยดิจิตอลไซเนจ (Digital Signage) อย่างรวดเร็วเนื่องจากการโฆษณาบนดิจิตอลไซเนจ (Digital Signage) สร้างแสดงรูปแบบสื่อประชาสัมพันธ์ได้หลากหลาย สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้พบเห็น และง่ายต่อการปรับเปลี่ยนและควบคุมการแสดงผล ซึ่งแตกต่างจากการใช้งานป้ายโฆษณาที่เป็นวิวบอร์ดซึ้งการปรับเปลี่ยนรูปแบบการประชาสัมพันธ์จะมีการบวนการที่ยุ่งยากและ ยากต่อการบริหารจัดการ

รูปภาพที่ 3 ตัวอย่าง ดิจิตอลไซเนจ

 

องค์ประกอบของ ดิจิตอลไซเนจ (Digital Signage) จะประกอบไปด้วย

       1. ส่วนแสดงผล (Display) การแสดงผลของ ดิจิตอลไซเนจ (Digital Signage) สามารถแสดงผลได้หลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ในบทความนี้ขอกล่าวถึงในการแสดงผล (Display) ในรูปแบบของจอภาพเท่านั้นนะครับ เนื่องจากจินตนาในโลกของการโฆษณาประชาสัมพันธ์หลากหลายมากขึ้นอยู่กับจินตนาการ ของนักโฆษณาจึงทำให้ส่วนแสดงผลมีความหลากหลายที่ผมเลือกที่จะกล่าวถึงจอภาพเพราะจอภาพเป็นอุปกรณ์ที่ถูกนำมาใช้ในการแสดงผลมากที่สุดซึ้งผมจะกล่าวถึงในหัวข้อต่อไป

รูปภาพที่ 4 แสดง Display ชนิดต่างๆ

 

        2. ส่วนความคุมการทำงาน (MCU = Main control Unit) ส่วนนี้เป็นอุปกรณ์คุมการทำงานร่วมกันระหว่างส่วนแสดงผลและซอร์ฟแวร์ (Software) ส่วนควบคุมการทำงานถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้ เพราะจะเป็นส่วนที่ควบคุมการทำงานของระบบ ถ้าเทียบกันระบบการทำงานของมนุษย์ MCU ก็เปรียบเสมือน ร่างกายของคนเรา ที่ประกอบไปด้วยอวัยวะต่างๆ ที่ทำงานประสานกันและสอดคล้องกันเพื่อจุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่ง

รูปภาพที่ 5 ตัวอย่าง MCU แบบต่างๆ

 

        3. ชุดคำสั่งควบคุมการทำงาน (Software) (ในที่นี้ข้อเรียกว่า ซอร์ฟแวร์) เป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งที่ทำงานร่วมกับส่วนควบคุมการทำงาน (MCU) และมนุษย์หรือผู้ใช้งาน (User) ซอร์ฟแวร์ ถือเป็นองค์ประกอบที่ทำหน้าที่ประสานงานให้ MCU ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้งาน (User) หากเปรียบ ซอร์ฟแวร์ เป็นร่างกายมนุษย์ ซอร์ฟแวร์ก็ทำหน้าที่เดียวกับสมองของร่างกายมนุษย์ที่คอยสั่งให้อวัยะต่างๆ ทำงานต่างๆ ตามเงื่อนไขที่ต้องการ

รูปภาพที่ 6 แสดงชุดคำสั่ง Software

 

      องค์ประกอบทั้ง 3 จะทำงานประสานและสอดคล้องกันและควบคุมด้วยมนุษย์ (USER) โดย user ทำจะควบคุมการทำงานทั้งระบบผ่านทาง software โดยที่ software จะทำหน้าร่วมกับ MCU เพื่อแสดงผลบน display ตามความต้องการของ User

รูปภาพทึ่ 7 องค์ประกอบของดิจิตอลไซเนจ

 

Sumoo.



 

นัดสำรวจพื้นที่ หรือ ออกแบบ และ ประเมินราคา        ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ

 บริการหลังการขาย SLA 12 ชั่วโมง สำหรับกรุงเทพ และปริมณฑล, 24 ชั่วโมง สำหรับต่างจังหวัด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

  Facebook / QR Code

  @hstn.co.th / QR Code

  info@hstn.co.th

         โทร02-889-4701, 02-889-4702  แฟกซ์. 02-889-4700

         คอลเซ็นเตอร์ : 082-726-5320, 082-726-5321, 082-726-5322


 

This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy