ส่วนประกอบหลักๆของ MATV

ส่วนประกอบหลักๆของ MATV

เผยแพร่: 16 ธ.ค. 2567 10:12 ปรับปรุง: 21 ม.ค. 2568 10:54 โดย: Puthon HSTN 

 

 

ส่วนประกอบหลักๆของ MATV

 

1. ส่วนรับสัญญาณทีวีเข้าระบบ


ส่วนรับสัญญาณทีวีที่เป็นสายอากาศจะทำหน้าที่รับสัญญาณทีวีที่ส่งออกมาจากเสาส่งในระบบภาคพื้นดิน แนวคิดคือการนำแผงก้างปลาหันไปตามเสาส่งต่างๆแล้วรวมสัญญาณส่งลงไปตามอาคารตามสายส่ง แต่ปัญหาของทีวีในระบบอนาลอกก็คือ คุณภาพของสัญญาณจะไม่ดี เนื่องจากเกิดการสะท้อนของคลื่นสัญญาณกับอาคารข้างเคียง ทำให้เกิดเงา การจูนสัญญาณอาจเกิดภาวะเสียงชัดภาพไม่ชัด แต่พอภาพชัดเสียงจะไม่ชัดเป็นต้น สมัยนี้ก่อนทีวีดิจิตอลภาคพื้นดินจะเกิดขึ้นจึงนิยมทำวิธีที่สอง ปัจจุบันเพียงแค่ติดตั้งเสาอากาศดิจิตอล ก็สามารถรับชมช่องรายการคุณภาพ ในระบบ Digital ได้ 19-20 ช่องรายการ 

ส่วนรับสัญญาณเป็นจานดาวเทียม โดยการมีจานดาวเทียมนี้จะทำให้คุณภาพของสัญญาณดีมาก คมชัดทุกช่อง ไม่เป็นเงา ไม่มีปัญหาเรื่องเสียงและภาพเพราะปัจจุบันเป็นระบบ Digital ดาวเทียม แล้ว เราสามารถตั้งจานหลักๆ เพียงจานเดียวก็รับสัญญาณได้หลายๆ ข่อง แต่จะต้องมีการติดตั้งเครื่องรับหรือ Receiver จำนวนมากเพื่อแปลงสัญญาณดาวเทียมให้เป็นสัญญาณทีวีเพื่อส่งไปยังระบบสายสัญญาณของอาคารต่อไป

การออกแบบระบบ MATV แบบนี้ ก็เพื่อให้มั่นใจได้ว่าทุกจุดทุกห้องจะสามารถรับชมทีวีได้ทุกช่องที่เลือกแล้วด้วยความคมชัด ไม่มีสัญญาณสะท้อนต่างๆเหมือนที่รับมาจากสายอากาศในสมัยก่อนที่เป็นระบบ Analog โดยตรง หากต้องการเพิ่มช่องก็แค่เพียงเพิ่ม Receiver และ Modulator เพิ่มเท่านั้น ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้บางรุ่นจะมีขนาดเล็กถูกออกแบบมาโดยเฉพาะเป็นโมดูล เพื่องานในลักษณะนี้ เพราะแต่ละตัวจะทำงานแบบคงที่ มีแหล่งจ่ายไฟรวม ไม่ต้องมีหน้าจอแสดงผล ไม่ต้องมีตัวรับสัญญาณจากรีโมทในแต่ละช่อง (Channel) จึงทำให้ราคาถูกกว่าไปซื้อกล่องดาวเทียมธรรมดามาวางเรียงกัน

2 ภาคขยายสัญญาณทีวี


เนื่องจากโดยทั่วไปแล้วทีวีแต่ละเครื่องจะรับสัญญาณได้ดีที่ความแรงของสัญญาณ 60 – 80 dB หากน้อยกว่า 60 dB ภาพจะมีการรบกวนมากจะเป็นเม็ดๆ หรือเรียกตามระบบทีวีอนาลอกว่าเป็นหิมะ (Snow) หากมากเกิน 80 dB ภาพจะหยาบสีเข้มเกินไป เกิดการเหลื่อมของสีมาก โดยทั่วไปแล้วจะมีการออกแบบให้มีความแรงสัญญาณอยู่ประมาณ 70 dB ส่วน สัญญาณ Digital จะอยู่ในช่วง 35 - 80  dB  หากเกิน 80 dB สัญาณจะ Feed สะดุด หากต่ำกว่า 35 dB สัญาณจะ Feed สะดุด cและ ขึ้น Low Signal 

การขยายสัญญาณก่อนส่งผ่านไปยังระบบสายส่ง มักจะมีการขยายสัญญาณขึ้นไปถึง 90 – 110 dB ซึ่งขึ้นอยู่กับการออกแบบ เพื่อชดเชยการสูญเสียสัญญาณตามจุดต่างๆ ให้เหลือที่ปลายทางทุกจุดอยู่ในช่วง 65 - 70 dB ตามข้างต้นในระบบ Analog  และ 35 - 80 dB ในระบบ Digital

3 ส่วนกระจายสัญญาณทีวีไปตามจุดต่างๆ


ส่วนกระจายสัญญาณจะทำหน้าที่หลักๆ กระจายสัญญาณทีวีให้เหมาะสมในแต่ละจุด และทำหน้าที่กำหนดความต้านทานรวมที่ 75 โอห์ม

ในการกระจายสัญญาณไปในแต่ละจุดนั้นจะต้องมีการออกแบบให้ทุกจุดได้รับสัญญาณในช่วง 60 – 80 dB ในระบบ Analog และ 35 - 80 dB ในระบบ Digital  นั่นหมายถึงว่าภาคขยายสัญญาณในข้อ 2 จะต้องขยายสัญญาณให้สูงกว่านี้เพื่อชดเชยการสูญเสียสัญญาณในจุดต่างๆ ส่วนการทำหน้าที่กำหนดความต้านทานรวมหรือ Matching Impedance นั้นก็เพื่อให้กำลังขยายที่ออกมาจากภาคขยายนั้นสูงสุด ไม่งั้นคลื่นจะสะท้อนไปมาระหว่างในสายและจะทำให้เกิดเงาของภาพขึ้นมาได้ในระบบ Analog และ ใช้งานไม่ได้ ในระบบ Digital

อุปกรณ์ที่สำคัญในระบบกระจายสัญญาณมีดังต่อไปนี้

– Tap-off เป็นการแยกสัญญาณจากสายส่งหลักไปยังตัวกระจายสัญญาณไปตามห้องอีกที ซึ่งอาจจะมีทั้งแบบ 2 ทางไปจนถึง 4 ทาง การสูญเสียสัญญาณที่นี่ (Tap loss) จะมีตัวเลขสูงเนื่องจากเป็นตัวแบ่งสัญญาณหลักๆ สายสัญญาณที่ใช้ในช่วงนี้จะเป็นแบบ RG-11

– Splitter ตัวแยกสัญญาณไปยังแต่ละห้องอีกทอดหนึ่ง สัญญาณที่มาจาก Tap-off จะผ่านตัว Splitter อีกทีอันเป็นด่านสุดท้ายที่จะแยกไปตามห้องต่างๆ ยิ่งมีการแยกสัญญาณเยอะ การสูญเสียสัญญาณ (Insertion loss) ก็จะเยอะตามไปด้วย สายสัญญาณที่ใช้ในช่วงนี้จะเป็นแบบ RG-6

แต่จะว่าไปแล้วช่างอาจจะเรียกทั้งหมดว่าเป็น Tap off หรือเรียกทั้งหมดว่าเป็น Splitter ก็ได้ เป็นอันเข้าใจกันว่ามีระบบกระจายสัญญาณสองช่วงนั่นเอง การออกแบบบางกรณีอาจจะใช้เทคนิคการ Tap สัญญาณไปเรื่อยๆก็ได้ หรือเริ่มจาก Splitter ก่อนแล้วค่อย Tap ออกไปตามห้องต่างๆ หรือผสมผสานกันก็ได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วช่างจะเริ่มจากการ Split สัญญาณแล้วค่อย Tap ไปตามห้องมากกว่า

This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy