Fiber Optic Link Components (Part 2)

Fiber Optic Link Components (Part 2)

Fiber Optic Link Components (Part 2)

 

        ต่อเนื่องจาก Part 1 ส่วนประกอบของ Fiber optic Link อีก 2 ส่วนที่เหลือ ตามข้อมูลข้างล่าง

Connectors

       Fiber optic links ต้องมีการ เชื่อมต่อ จาก Transmitter ไปยัง สายไฟเบอร์ และ สายไฟเบอร์ ต่อไปยัง Optical Receiver โดยทั่วไป มี 2 วิธีที่จะใช้เชื่อม Links ไฟเบอร์เข้าด้วยกัน

        1. Fusion Splice

                วิธีแรกเรียกว่า Fusion Splice  วิธีนี้จะทำการเชื่อมต่อโดยตรงระหว่าง คอร์ไฟเบอร์ กับ คอร์ไฟเบอร์เข้าด้วยกัน โดยการ Arc หรือ Fusion โดยใช้เครื่องมือ ตามภาพที่ 5 วิธีการนี้ เป็นวิธีการที่รวดเร็ว ง่าย และ Insertion loss น้อยที่สุด ข้อด้อยของใช้วิธีนี้คือ ค่าใช้จ่ายสูง

 

        2. Connetors

                แบบที่ 2 ที่ใช้กัน คือ connector Fiber ส่วนประกอบภายในของ Connector มี เซรามิค ต้อ้วยกาว Epoxy เพื่อยึดติดกับส่วนของไฟเบอร์ connector สามารถต่อเข้าและถอดออก ได้ ข้อดีของ connector คือ สะดวกสามารถถอดเข้าออกได้มากกว่า 1,000 ครั้ง โดยไม่มีการเสียหาย ราคาถูก ข้อเสีย คือ ต้องใช้เครื่องมือเฉพาะ Insertion loss เยอะกว่าแบบ Fusion splice


Fiber connector มี 2 แบบ ด้วยกัน คือ

        2.1 Physical Contact Connectors

        ใช้ เซรามิค เป็นหน้าสัมผัส แข็งแรงคงทน ง่ายต่อการใช้งานและสามารถป้องกันการเสียหายได้ หลักการทำงานอยู่ที่ หน้าสัมผัสของเซรามิคทั้ง 2 ข้าง มุมและแนวการวางของ เซรามิคทั้ง 2 ข้าง ตามภาพที่ 6 Insertion loss เกิดจากความสะอาดของหน้า สัมผัส และ มุมของการสัมผัสของเซรามิค มีสปริงอยู่ด้านหลังของเซรามิค เพื่อป้องกันหน้าสัมผัสผิดเพี้ยนและทำให้ loss สูงขึ้น จากการสั่นสะเทือน และ แรงกระแทกต่างๆ

 

       

        Physical contact connector มีหลายแบบ มีความคงทน สามารถใช้ซ้ำได้ ง่ายต่อการทำความสะอาด ราคาถูก และ ใช้งานได้ดี เนื่องจากมีหลากหลายรูปแบบ แต่แบบที่ใช้งานกันเยอะๆ แสดงในภาพที่ 7

        - FC-Ferrule Connector: FC ใช้มากในงาน Telecom และ datacom เป็นแบบเกลียว หมุนเข้าออก
        - LC-Lucent Connector: LC จะมีขนาดเล็ก ดึงเข้าออกได้ ไม่มีเกลียว
        - SC-Subscriber Connector: SC มีขนาดใหญ่กว่า LC สามารถ ดึงเข้าออกได้
        - ST-Straight Tip Connector: ST มีขนาดใกล้เคียงกับ FC แต่ไม่มีเกลียว ใช้สลักเป็นตัวล็อค

 

       
        2.2 Expanded Beam Technology 


        เทคโนโลยี Expanded beam ซึ่งประกอบด้วยการวางเลนส์ที่จุดทางออกของไฟเบอร์  เพื่อขยายแสง ซึ่งจะมีระยะห่าง ของเลนส์ทั้ง 2 ข้าง ตามภาพที่ 8 loss ของแบบนี้จะอยู่ที่ 0.8-2.5 dB และต้องระวังเรื่องฝุ่น มากกว่าปกติ

Receiver

        เป็นอุปกรณ์ตัวสุดท้ายของส่วนประกอบไฟเบอร์ ใช้ โฟโตไดโอด เปลี่ยนสัญญาณแสงให้กลับมาเป็น สัญญาณไฟฟ้า โฟโตไดโอด มีทั้งหมด 2 แบบ คือ PIN (Positive Intrinsic Negative) และ APD (Avalanche PhotoDiode) 
        ในทำนองเดียวกันกับเครื่องส่งเลเซอร์ photodiode จะได้รับความยาวคลื่นตาม วัสดุ ที่ส่งมา ตามภาพที่ 9

 

By MiMhee


นัดสำรวจพื้นที่ หรือ ออกแบบ และ ประเมินราคา        ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ

 บริการหลังการขาย SLA 12 ชั่วโมง สำหรับกรุงเทพ และปริมณฑล, 24 ชั่วโมง สำหรับต่างจังหวัด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

  Facebook / QR Code

  @hstn.co.th / QR Code

  info@hstn.co.th

         โทร02-889-4701, 02-889-4702  แฟกซ์. 02-889-4700

         คอลเซ็นเตอร์ : 082-726-5320, 082-726-5321, 082-726-5322


 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้