ระบบทีวีขั้นพื้นฐาน
ระบบทีวีมี 3 ชนิด
PAL ย่อมาจาก Phase Alternating Line พัฒนาขึ้นโดยวิศวกรชาวเยอรมันชื่อ Walter Bruch ในปี 1963 เริ่มเอามาใช้ในเชิงพาณิชย์เมื่อเดือนสิงหาคมปี 1967 โดย Pal จะมีจำนวนเส้น (TV line ที่ 625 เส้น ที่แนวนอน และ 576 เส้นที่แนวตั้ง และมีจำนวนภาพต่อวินาทีที่ 25 (25 frame per second)มีการแยกแบนด์วิชระหว่างภาพและเสียงใช้กับไฟที่จำนวน 220V/50Hz ให้รายละเอียดภาพรวม (720 x 57) เท่ากับ 414, 720 จุด (หรือ 768 x 576 = 442, 368 จุด) อัตราส่วนของการแสดงภาพใกล้เคียงมาตรฐาน 4:3 สรุปค่าได้ 0.41 MegaPixel หรือ 0.44 MegaPixel ไทย อังกฤษ ฝรังเศส เยอรมัน ใช้งาน
NTSC ย่อมาจาก The National Television System Committee เริ่มใช้ปี พ.ศ. 2483 เป็นระบบสัญญาณภาพแบบแรกที่กำเนิดขึ้นบนโลกโดย NTSC จะมีจำนวนเส้น ( TV line ที่ 525 TV line ที่แนวนอน และ 480 เส้นที่แนวตั้ง) และมีจำนวนภาพต่อวินาทีที่ 30 ภาพ Frame per Second และที่สำคัญ ระบบนี้จะใช้ในไฟบ้านที่ กระแสไฟ 110V/60Hz ให้รายละเอียดภาพรวม ( 720 x 480 ) เท่ากับ 345, 600 จุด อัตราส่วนของการแสดงภาพ 1.5:1 ( 3:2 ) สรุปค่าได้ 0.34 MegaPixel อเมริกา ญี่ปุ่น พม่า แคนาดา ใช้งาน
SECAM ย่อมาจาก System Electronique Pour Couleur Avec Memoire หรือ Sequential Color and Memory พัฒนาขึ้นที่ฝรั่งเศส เริ่มใช้เมื่อปี 1967 มีจำนวนเส้นแนวนอน 625 เส้น และแนวตั้ง 576 เส้น ส่งสัญญาณหลายแบบ แต่ละแบบจะส่งสัญญาณภาพและเสียงแยกแบนด์วิธกัน เช่น แบบ B, D ส่ง VHF แบบ G, H, K ส่ง UHF แบบ I, N, M, K1, L ส่งทั้ง VHF/UHF และแต่ละแบบจะใช้เครื่องรับสัญญาณต่างกัน และใช้เส้นทีวีไลน์มากถึง 800 - 1000 เส้น ระบบนี้ใช้ไฟ 60Hz ส่วนความถี่ใช้แถบความกว้างมาก จนมีช่องไม่กี่ช่องที่สามารถใช้ได้ ทำให้ไม่เป็นที่นิยมในการใช้งาน
ตารางเปรียบเทียบ Parameter ของรับบทีวีทั้ง 3 ระบบ
ความถี่ที่ใช้ในระบบทีวี 3 ย่านความถี่
เมื่อเริ่มมีระบบทีวีในประเทศไทยเราใช้ระบบ PAL BG โดยแบ่งย่านความถี่ออกเป็น 3 ย่าน คือ VL, VH และ UHF โดยแต่ละย่านจะมีช่องความถี่คือ VL (CH.2-4) VH (CH.5-12) และ UHF (CH.21-69) รวม 50 ช่อง
ต่อมามีช่องรายการมากขึ้น ระบทีวีก็ต้องการใช้ช่องความถี่มากขึ้นจึงนำความถี่ย่าน S-Band มาใช้งานโดยแต่ละย่านจะมีช่องความถี่เพิ่มขึ้นคือ VL (CH.2-4,X,Y,Z,Z1,Z2) VH (S1-S10, CH.5-12, S11-S20) และ UHF (S21-S41, CH.21-69) รวม 106 ช่อง
ตารางความถี่ระบบ PAL BG
ชนิดของสัญญาณ
การเลือกช่องความถี่ใช้งาน
หมายเหตุ ความถี่ Analog TV ในอากาศ และ ความถี่ Digital TV ในอากาศ แต่ละจังหวัดจะส่งไม่เหมือนกัน สามารถหาข้อมูลได้จาก กสทช. หรือ Website ของ HSTN
นัดสำรวจพื้นที่ หรือ ออกแบบ และ ประเมินราคา ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆบริการหลังการขาย SLA 12 ชั่วโมง สำหรับกรุงเทพ และปริมณฑล, 24 ชั่วโมง สำหรับต่างจังหวัด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร. 02-889-4701, 02-889-4702 แฟกซ์. 02-889-4700
คอลเซ็นเตอร์ : 082-726-5320, 082-726-5321, 082-726-5322