CCTV

CCTV ย่อมาจาก Close Circuit TeleVision Systems มีชื่อภาษาไทยว่า “กล้องวงจรปิด” แต่ปัจจุบันหลายคนมักเรียกว่า “กล้อง CCTV” ถูกนำมาใช้เพื่อการเฝ้าระวังและรักษาความปลอดภัยระบบกล้องวงจรปิด (Close Circuit TeleVision Systems) มีประกอบสำคัญ 4 ส่วน คือ กล้องวงจรปิด เครื่องบันทึก ตัวกลางในการส่งสัญญาณระหว่างกล้องวงจรปิดและเครื่องบันทึก วิธีการแสดงผล ระบบไฟฟ้า ปัจจุบันกล้องวงจรปิดอาจแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่ กล้องอนาล๊อก (Analog CCTV) และ กล้องไอพี (IP Camera) กล้องไอพีบางท่านอาจเรียว่า Digital CCTV

กล้องอนาล๊อกใช้สายโคแอคเซียลเคเบิลเป็นตัวกลางในการส่งสัญญาณภาพไปยังเครื่องบันทึก เครื่องบันทึกนี้เรียกว่า DVR (Digital Video Recorder) และจ่ายไฟเลี้ยงกล้องแยกอิสระจากสายสัญญาณ

ส่วนกล้องไอพีใช้สายแลนเป็นตัวกลางในการส่งสัญญาณภาพไปยังเครื่องบันทึก เครื่องบันทึกนี้เรียกว่า NVR (Network Video Recorder) การจ่ายไฟเลี้ยงกล้องจะใช้ตัวสายแลนเอง 1 คู่สาย (2เส้น) ในการจ่ายไฟเลี้ยงจากเครื่องบันทึกไปยังกล้องไอพี

ปัจจุบันการทำงานร่วมกันง่ายขึ้นเนื่องจากมีเครื่องบันทึกที่มีชื่อว่า

สำหรับท่านที่ต้องการติดกล้องเพียงตัวเดียว แนะนำให้เลือกใช้กล้องไอพีแบบบันทึกด้วยตัวมันเองเพียงแค่เสียบปลั๊กและเสียบเมมโมรี่การ์ดก็ใช้งานได้ แต่ส่วนมากกล้องแบบนี้ราคาไม่สูงและมีคุณภาพไม่สูงเช่นเดียวกับราคา
CATV 

CATV ย่อมาจาก Community Access TeleVision Systems เป็นระบบทีวีรวมศูนย์ที่ส่งสัญญาณทีวีไปยังบ้านของผู้บริโภคจำนวนมากโดยใช้โครงข่ายคู่สายร่วมกัน โดยรับสัญญาณผ่านทางอากาศหรือผลิตรายการเองแล้วนำไปส่งต่อไปยังครัวเรือนผ่านสายเคเบิล โดยคิดค่าบริการหรือไม่คิดค่าบริการก็ตาม

CATV ในบ้านเรายุคแรกเป็นระบบอนาล๊อกเริ่มจากการส่งเพียง 1 ช่อง จนถึงสูงสุด 106 ช่อง โดยส่งผ่านสายชีลด์ที่เรียกว่าสายโคแอคเซียล (Coaxial Cable) ตั้งแต่ขนาด RG6, RG11 และ RG500 แล้วแต่ขนาดของโครงการ

ในภายหลังจำนวนช่องมาก และโครงข่ายมีระยะทางไกลขึ้น จึงมีการนำเส้นใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable) มาใช้งานในระบบ CATV ด้วย โดยใช้เป็นสายเมนหลักส่งสัญญาณ CATV ระยะไกล และนำสายโคแอคเซียลมาใช้เป็นสายกระจายเข้าครัวเรือนต่างๆ  เพื่อให้ได้ภาพที่คมชัดใกล้เคียงกันทุกจุดรับชม และการใช้งานสาย 2 ชนิดร่วมกันลักษณะนี้เราเรียกว่า “ระบบไฮบริดไฟเบอร์โคแอค” (Hybrid Fiber Coax) มีชื่อย่อว่าHFC ระบบนี้น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการนำเส้นใยแก้วนำแสงมาใช้กับงานระบบทีวี ก่อนที่จะพัฒนามาเป็น ระบบ FTTx ในปัจจุบัน
MATV

MATV ย่อมาจาก Master Antenna TeleVision Systems เป็นระบบทีวีรวมศูนย์ที่ออกแบบมาสำหรับอาคารสูง เพื่อแก้ปัญหาการติดตั้งเสาอากาศ (Antenna) จำนวนมากบนดาดฟ้าอาคารและเดินสายที่ไม่เป็นระเบียบเรียบรอยสงผลต่อทัศนียภาพความเรียบร้อยสวยงามของอาคารและได้สัญญาณทีวีไม่คมชัด ระบบนี้จะพบในธุรกิจ โรงแรม อพาร์ตเม้นต์ คอนโดมิเนียม แฟลต อาคารชุด เป็นต้น การทำระบบ MATV นั้นเป็นวิธีการตั้งเสาอากาศเพียงชุดเดียวเพื่อรับสัญญาณทีวีและวิทยุ FM โดยแผงเสาอากาศ และนำสัญญาณมาจัดระดับให้เท่ากันที่เหมาะสมเพื่อจ่ายเข้าสู่โครงข่ายสายโคแอคเซียลภายในอาคาร โดยมีการวางตำแหน่งอุปกรณ์ขยายสัญญาณ (Booster) ที่เหมาะสม วางตำแหน่งอุปกรณ์แยกสัญญาณ (Splitter & Tapoff) ที่เหมาะสม จะสามารถให้คุณภาพความคมชัดใกล้คียงกันทุกจุดรับชม การทำระบบ MATV นั้นหากต้องการคุณภาพควรเลือกใช้วิศวกรหรือช่างเทคนิคที่มีความรู้ สามารถคำนวณค่าสัญญาณได้ และกระบวนการตรวจรับงานต้องสามารถตรวจเช็ค 2 ส่วน คือ สัญญาณได้ระดับใกล้เคียงกันทุกจุดโดยมีระดับสัญญาณไม่น้อยกว่า +65dBuV (+5dBm) และให้สัญญาณภาพมีความคมชัด (ปัจจุบันหลายหลายธุรกิจมิได้ส่งวิทยุ FM แล้ว)

เจ้าของโครงการอาคารสูงส่วนมากมิได้ให้ความสำคัญกับระบบทีวีเท่าที่ควร โดยให้ช่างไฟฟ้าเป็นผู้ดำเนินงานทุกสิ่ง หลังจากผู้รับเหมาส่งงานแล้ว ผู้พักอาศัยรับชมทีวีไม่ได้หรือไม่ชัด ต้องมาแก้ไขระบบภายหลังหากมีการตกแต่งภายในแล้วก็มีค่าใช้จ่ายในการแก้ไขสูง ดังนั้งระบบทีวีควรให้ช่างงานระบบทีวีเป็นผู้ติดตั้ง หรือหากต้องการให้ช่างไฟฟ้าเป็นผู้ติดตั้งก็ควรจัดอบรมให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเสียก่อนปฏิบัติงาน
SMATV

SMATV ย่อมาจาก Satellite Master Antenna TeleVision Systems หรือย่อมาจาก Single Master Antenna TeleVision ไม่มีคำไหนผิด แล้วแต่ว่าเราจะเรียกว่าอย่างไร เป็นระบบทีวีรวมศูนย์ที่ออกแบบมาสำหรับอาคารสูง ที่พัฒนามาจากระบบ MATV เพื่อนำไปใช้ในธุรกิจ โรงแรม อพาร์ตเม้นต์ คอนโดมิเนียม แฟลต อาคารชุด ความแตกต่างคือ การทำระบบ SMATV นั้นเป็นการตั้งเสาอากาศเพียงชุดเดียวเพื่อรับสัญญาณทีวีและวิทยุ FM โดยแผงเสาอากาศ และมีการนำรายการทีวีที่รับจากจานดาวเทียม หรือรายการทีวีที่ผลิตเอง (Hotel Information) มาผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า Channel Amplifier หรือ Modulator ทำให้สามารถส่งช่องรายการได้เพิ่มขึ้น  และนำสัญญาณทั้งหมดมาจัดระดับให้เท่ากันที่เหมาะสมเพื่อจ่ายเข้าสูโครงข่ายสายโคแอคเซียลภายในอาคาร โดยมีการวางตำแหน่งอุปกรณ์ขยายสัญญาณ (Booster) ที่เหมาะสม วางตำแหน่งอุปกรณ์แยกสัญญาณ (Splitter & Tapoff) ที่เหมาะสม จะสามารถให้คุณภาพความคมชัดใกล้คียงกันทุกจุดรับชม การทำระบบ SMATV นั้นหากต้องการคุณภาพควรเลือกใช้วิศวกรหรือช่างเทคนิคที่มีความรู้ สามารถคำนวณค่าสัญญาณได้ และกระบวนการตรวจรับงานต้องสามารถตรวจเช็ค 2 ส่วน คือ สัญญาณได้ระดับใกล้เคียงกันทุกจุดโดยมีระดับสัญญาณไม่น้อยกว่า +65dBuV (+5dBm) และให้สัญญาณภาพมีความคมชัด เช่นเดียวกันกัยระบบ MATV
DMATV & DSMATV

DMATV เป็นคำศัพท์ใหม่ที่ย่อมาจาก Digital Master Antenna TeleVision Systems หรือบางท่านอาจเรียกยาวๆ ว่า DSMATV ที่ย่อมาจาก Digital Satellite Master Antenna TeleVision Systems เป็นคำศัพท์ใหม่ที่เราจะพบในบ้านเรา หมายถึง “ระบบทีวีรวมศูนย์แบบดิจิตอลที่ออกแบบมาสำหรับอาคารสูง” ซึ่งปัจจุบันเชื่อว่าทุกอาคารน่าจะต้องมีทั้งเสาอากาศและจานดาวเทียมเป็นชุดรับอยู่แล้ว จึงไม่ได้แบ่งแยกว่าควรใช้คำว่า DMATV หรือ DSMATV ดีกว่ากัน

หากสถานประกอบการต้องการทำระบบทีวีรวมแบบ DMATV หรือ DSMATV สิ่งจำเป็นที่สุดคือ ทีวีในห้องพักของท่านต้องรองรับระบบดิจิตอลทีวีแบบ DVB-T2 ตามข้อกำหนด กสทช. หรือต้องใช้กล่อง DVB-T2 ตามข้อกำหนด กสทช. ต่อเข้าทีวีเก่าจึงจะสามารถรับชมได้

การส่งสัญญาณระบบทีวีรวมศูนย์แบบ DMATV หรือ DSMATV มีความแตกต่างจากระบบ MATV และ SMATV แบบเก่า คือ จะสามารถรับชมระบบดิจิตอลทีวีพื้นฐานได้ถึง 27 ช่องรายการ (มีช่องความคมชัดสูงสุดระดับ Full HD ถึง 10 ช่อง) หรือมีรายการอื่นๆ ที่น่าสนใจที่รับจากจานดาวเทียมเพิ่มเติม ขึ้นกับเงื่อนไขของสถานประกอบการ
IPTV

IPTV ย่อมาจาก Internet Protocol TeleVision ระบบทีวีรวมแบบ IPTV เป็นระบบการส่งสัญญาณทีวีรวมอีกรูปแบบบหนึ่ง แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

          1. ระบบ IPTV ที่ส่งสัญญาณทีวีขึ้นอินเตอร์เน็ตในรูปแบบ IP และใช้กล่อง IPTV เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตเพื่อรับชมรายการทีวี ระบบนี้หากอินเตอร์เน็ตต้นทางล่ม (ฝั่งผู้ทำระบบส่ง) หรืออินเตอร์เน็ตปลายทางล่ม (ฝั่งผู้รับ) จะไม่สามารถรับชมรายการทีวีได้ และการจัดสรรแบนด์วิดธ์ที่ไม่เหมาะสมกับจำนวนผู้ชม จะทำให้รับชมได้ไม่ต่อเนื่องหรือไม่สามารถรับชมรายการทีวีได้ เหมาะสำหรับบ้านพักอาศัย ไม่เหมาะกับการนำมาใช้ในธุรกิจบริการ

          2. ระบบ IPTV ที่ส่งสัญญาณเฉพาะภายในอาคารสูง เรียกว่า Hospitality IPTV หรือ Hotel IPTV ระบบนี้เป็นระบบปิด เหมาะสำหรับการนำมาใช้ในธุรกิจบริการ เช่น โรงแรม รีสอร์ท โรงพยาบาล เนื่องจากไม่ต้องใช้อินเตอร์เน็ต สามารถควบคุมดูแลระบบได้ด้วยตนเอง 

ระบบ Hospitality IPTV หรือ Hotel IPTV นอกจากสามารถส่งรายการทีวีในรูปแบบทีวีรวมแบบ MATV แล้วยังสามารถ นำภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหวมาตกแต่งหน้าจอทีวีให้ธีมบนหน้าจอทีวีดูมีสไตล์ บอกถึงความล้ำสมัยของธุรกิจบริการ สามารถทำช่องรายการ Video On Demand (VOD) สามารถขายสินค้าหรือบริการต่างๆ การเรียกใช้บริการต่างๆ ผ่านหน้าจอทีวี และให้บริการความบันเทิงอื่นๆ ได้น่าสนใจ กว่าระบบทีวีทั่วไปอีกด้วย 

ระบบ Hospitality IPTV หรือ Hotel IPTV ระบบนี้ อาจแยกย่อยได้ 2 รูปแบบ คือ ระบบที่ต้องมีกล่อง IPTV ต่อกับทีวี และระบบที่ต่อกับทีวีได้โดยตรงโดยไม่ต้องมีกล่อง (Boxless) ซึ่งให้ความสวยงามเช่นเดียวกัน แต่อาจมีบางบริการที่แตกต่างกัน
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้