ความถี่วิทยุสื่อสาร

การแบ่งย่านความถี่วิทยุสื่อสาร (Spectrum Radio Communication Frequencies)

       คลื่นวิทยุ (Radio Frequency) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ตั้งแต่ 3Hz ถึง 3000GHz (3THz) คลื่นวิทยุถูกนำไปใช้ในการสื่อสารโทรคมนาคมอย่างแพร่หลาย และในการนำไปใช้งาน โดยมิให้เกิดการรบกวนกัน จึงมีการควบคุมอย่างเคร่งครัดตามกฎหมายของแต่ละประเทศ โดยมีการประสานงานกันโดยองค์กรกลางชื่อ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU)

       การจัดสรรความคลื่นถี่วิทยุเป็นย่านความถี่ต่างๆ ได้รับการจัดสรรโดย ITU เพื่อนำไปใช้กับเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมในรูปแบบที่แตกต่างกันไป บริการด้านสื่อสารโทรคมนาคมมากกว่า 40 บริการ ถูกควบคุมโดย ITU การนำคลื่นความถี่วิทยุไปใช้งานจะต้องได้รับอนุญาต และคลื่นความถี่วิทยุบางย่านที่ได้รับความนิยม เช่น คลื่นความถี่ที่ใช้ในงานโทรศัพท์มือ คลื่นความถี่ที่ให้บริการวิทยุกระจายเสียง หรือหรือสถานีโทรทัศน์ จะต้องขออนุญาตและจ่ายค่าเช่าหรือสัมปทาน จึงสามารถนำไปใช้งานได้ การประชุม ITU ได้การแบ่งย่านความถี่ตามลักษณะการใช้งาน หรือวัตถุประสงค์เดียวกัน โดยแบ่งออกเป็น 12 ย่าน ดังนี้

ย่านที่
อักษรย่อย่านความถี่ความยาวคลื่น
1ELF3–30 Hz10,000km – 100,000km
2SLF30 Hz - 300 Hz1,000km – 10,000km
3ULF300 Hz - 3000 Hz100km – 1,000km
4 VLF 3 kHz - 30 kHz 10km - 100 km
5 LF 30 kHz - 300 kHz 1 km - 10 km
6 MF 300 kHz - 3000 kHz 100m - 1000m
7HF3 MHz to - 30 MHz10m - 100m
8VHF30 MHz - 300 MHz1m - 10m
9UHF300 MHz - 3000 MHz10cm - 100cm
10SHF3 GHz - 30 GHz1cm - 10cm
11EHF30 GHz - 300 GHz1 mm - 10mm
12THF300 GHz - 3000 GHz 0.1mm - 1mm

ตารางที่ 1 ตารางการแบ่งย่านความถี่วิทยุของ ITU (Table of ITU Radio Bands)
 

ชื่อย่านความถี่อักษรย่อ

ITU band

ช่วงความถี่ความยาวคลื่นลักษณะการใช้งาน
Extremely low frequencyELF13–30 Hz100,000 – 10,000 kmการสื่อสารกับเรือดำน้ำ
Super low frequencySLF230–300 Hz10,000km – 1,000kmการสื่อสารกับเรือดำน้ำ
Ultra Low FrequencyULF3300–3,000 Hz1,000km – 100kmการสื่อสารใต้ทะเล, การสื่อสารภายในเหมืองแร่
Very Low FrequencyVLF43–30 kHz100km – 10kmการเดินเรือ, สัญญาณบอกเวลา, การสื่อสารใต้ทะเล, จอภาพอัตราการเต้นหัวใจแบบไร้สาย, ธรณีฟิสิกส์
Low FrequencyLF530–300 kHz10km – 1kmระบบนำร่อง, สัญญาณบอกเวลา, วิทยุ AM แบบ Long-Wave, RFID, วิทยุสมัครเล่น
Medium FrequencyMF6300–3,000 kHz1km – 100mวิทยุ AM แบบ Medium-Wave, วิทยุสมัครเล่น, สัญญาณแจ้งเตือนหิมะถล่ม
High FrequencyHF73–30 MHz100m – 10 mวิทยุ SW, วิทยุCB, วิทยุสมัครเล่น, วิทยุการบิน, เรดาห์, การเชื่อมลิงค์อัตโนมัติ
Very High FrequencyVHF830–300 MHz10m – 1mวิทยุ FM, โทรทัศน์, การสื่อสารระหว่างพื้นดินสู่อากาศยาน และระหว่างอากาศยาน, การสื่อสารภาคพื้นดินไปยังสถานีเคลื่อนที่ทางทะเล, วิทยุสมัครเล่น, วิทยรายงานสภาพอากาศสภาพอากาศ
Ultra High FrequencyUHF9300–3,000 MHz1m – 10cmโทรทัศน์, เตาไมโครเวฟ, อุปกรณ์การสื่อสารด้วยไมโครเวฟ, วิทยุดาราศาสตร์, โทรศัพท์มือถือ, GPS, ระบบแลนไร้สาย, บลูทูธ, ซิกบี, วิทยุสมัครเล่น, วิทยุดาวเทียม, รีโมทคอนโทรล, วิทยุ GMRS, วิทยุ FRS, ระบบติดตามอากาศยานอัตโนมัติ ADS-B
Super High FrequencySHF103–30 GHz10cm – 10mmอุปกรณ์การสื่อสารด้วยไมโครเวฟ, วิทยุดาราศาสตร์, เทคโนโลยี DSRC, เรดาห์, การส่งภาพและเสียงผ่านดาวเทียม, การส่งสัญญาณโทรทัศน์แบบ DBS, วิทยุสมัครเล่น, วิทยุดาวเทียม, ระบบแลนไร้สาย
Extremely High FrequencyEHF1130–300 GHz10mm –1mmวิทยุดาราศาสตร์, สถานีทวนสัญญาณไมโครเวฟ, การส่งสัญญาณรีโมทด้วยไมโครเวฟ, อาวุธที่ใช้พลังงานคลื่นโดยตรง, เครื่องสแกนคลื่นขนาดมิลลิเมตร, ระบบแลนไร้สาย(802.11ad)
TeraHertz / Tremendously High FrequencyTHz, THF12300–3,000 GHz1mm – 0.1mm

ภาพทางการแพทย์เพื่อแทนที่รังสีเอกซ์, พลศาสตร์โมเลกุลแบบ Ultrafast, การควบแน่นทางฟิสิกส์, สเปกโทรสโกปีโดเมนเทอร์เฮิร์ทซ์, การคำนวณ / การสื่อสารแบบ TeraHertz, การสำรวจระยะไกล, วิทยุสมัครเล่น

ตารางที่ 2 ตารางการแบ่งย่านความถี่วิทยุของ ITU และตัวอย่างการนำไปใช้งาน
(Table of ITU Radio Bands & Example Uses)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้