วิวัฒนาการโทรทัศน์

วิวัฒนาการโทรทัศน์

วิวัฒนาการโทรทัศน์

        ยุคเริ่มต้น ในการเสพสิ่งบันเทิงเริ่มต้นจากการรับฟังเสียง ผ่านเครื่องรับวิทยุ หรือ เครื่องเล่นแผ่นเสียง เท่านั้น ทำให้สมัยก่อนการเสพสิ่งบันเทิงต้องใช้จินตนาการค่อนข้างสูง ยุคต่อมา เป็นยุคที่ความบันเทิงมีทั้งภาพ และเสียง เราสามารถรับชมภาพ และรับฟังเสียงผ่าน เครื่องรับโทรทัศน์ได้ในยุคนี้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของยุคโทรทัศน์ และยุคนี้เรียกว่า “ยุคโทรทัศน์ขาวดำ”

 รูปภาพที่ 1 เครื่องรับวิทยุ AM FM รูปภาพที่ 2 เครื่องเล่นแผ่นเสียงรูปภาพที่ 3 ยุคโทรทัศน์ขาวดำ

        การส่งภาพ และเสียงผ่านโทรทัศน์ในยุคเริ่มต้นนั้น ไม่ได้ให้ความสำคัญกับความคมชัดเท่าที่ควร อย่าว่าแต่ความคมชัดเลย แค่ภาพนั้นยังไม่มีสีสันอะไร เป็นเพียงภาพขาวดำที่มีเสียงประกอบเท่านั้น ซึ่งก็แน่นอนว่าภาพขาวดำเท่านี้ก็ดีกว่าฟังเสียงอย่างเดียวหลายสิบเท่าแล้ว
       ในเวลาต่อมาไม่นานระบบโทรทัศน์ก็เริ่มวิวัฒนาการไปอีกขั้น คือ เริ่มมีสีสันเข้ามาทำให้ได้ความรู้สึกและจินตนาการหรืออารมณ์ร่วมไปกับสื่อที่เสพมากขึ้น เราเรียกยุคโทรทัศน์นี้ว่า “ยุคโทรทัศน์สี” แต่ด้วยการส่งในยุคเริ่มต้นนั้น ไม่ว่าจะเป็นยุคโทรทัศน์ขาวดำหรือโทรทัศน์สี เป็นการส่งสัญญาณภาพและเสียงแบบ “อะนาล็อค” การส่งแบบ อะนาล็อคนี้ มีความอ่อนไหวต่อสัญญาณรบกวนสูง  ทั้งการรบกวนที่เกิดจากระบบส่งของตัวเอง หรือการรบกวนที่เกิดจากสัญญาณภายนอกเข้ามารบกวน   ทำให้ภาพไม่ชัด ภาพเป็นลายเส้น เกิดภาพเงาซ้อน เสียงจากวิทยุเข้ามาแทรกในโทรทัศน์ มีแถบบาร์วิ่งอยู่บนหน้าจอ อาการแบบนี้เกิดให้เห็นกันอยู่ตลอด สำหรับท่านที่ทัน ยุคอะนาล็อค จะทราบว่า นี่คือเรื่องที่เกิดขึ้นจริง และเกิดจนรู้สึกเป็นเรื่องธรรมดาของการรับชมภาพและเสียงจากโทรทัศน์ที่ส่งแบบ “อะนาล็อค” นอกจากอาการสัญญาณรบกวนแล้วยังพบว่าความแรงของสัญญาณที่พอเหมาะเท่านั้นจึงจะทำให้รับชมภาพได้อย่างคมชัด (ระดับความแรงของสัญญาณที่พอเหมาะคือ 60-75 dBuV) การออกแบบระบบที่ไม่ถูกต้อง ระดับสัญญาณแตกต่างกัน เป็นสาเหตุให้จุดรับชมที่อยู่ไกลจากเครื่องส่ง ภาพจะเป็นเม็ดสโนว์ ภาพหยาบ เต็มหน้าจอไปหมด ในส่วนจุดรับชมที่อยู่ใกล้มากๆ สัญญาณแรงเกินไป จะเกิดอาการภาพเป็นลายเส้นแนวนอน หรือเป็นบาร์วิ่งจากซ้ายไปขวา ดังนั้นในการออกแบบโครงข่ายจำเป็นต้องใช้ ผู้มีความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษ เพื่อให้ระดับมีระสัญญาณที่เหมาะสมทุกจุด เพื่อให้ระดับสัญญาณเหมาะสมทุกจุด ทำให้ได้ภาพ และเสียงที่หน้าจอโทรทัศน์นั้นมีความคมชัดเหมือนกัน

รูปภาพที่ 4 ยุคโทรทัศน์สี  รูปภาพที่ 5 ยุคโทรทัศน์ Plasma LCD LED

        ความคมชัดของสัญญาณภาพรูปแบบนี้เราเรียกว่า “ความคมชัดแบบอะนาล็อค” การส่งภาพและเสียงในระบบอะนาล็อคนั้นสามารถส่งภาพ และเสียงความคมชัดได้ใกล้เคียงระดับ Standard Definition (SD) เท่านั้น  อย่างไรก็ตามยุคนั้นความคมชัดแบบอะนาล็อค ก็ตอบโจทย์มากแล้ว แต่อย่างที่ทราบไปแล้วว่ายากมากที่จะออกแบบให้ระบบส่งโทรทัศน์แบบอะนาล็อค มีความคมชัดทุกจุดรับชม และทุกช่องรายการได้
        ยุคที่สอง  เมื่อผู้คนส่วนใหญ่เลือกเสพสื่อบันเทิงผ่านเครื่องรับโทรทัศน์ ในยุคนี้ทุกบ้านมีโทรทัศน์อย่างน้อย 1 เครื่อง ทำให้หลายบริษัทสนใจที่จะเข้ามาทำธุรกิจในด้านนี้ จึงมีแข่งขันกัน คิดค้น พัฒนา ระบบส่งโทรทัศน์จากระบบเดิมที่เป็นการส่งแบบอะนาล็อค ที่มีจุดอ่อนอยู่หลายอย่าง ตามที่ได้ให้ข้อมูลไปก่อนหน้านี้แล้วนั้น  ให้เป็นระบบใหม่ที่แก้ไขจุดอ่อนดังกล่าวทั้งหมด ระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นมานั้นคือระบบส่งโทรทัศน์แบบดิจิตอลเราเรียกว่า “ยุคโทรทัศน์ดิจิตอล” (Digital TV)



รูปภาพที่ 6 ยุคโทรทัศน์ดิจิตอล โทรทัศน์ยุคนี้ออกแบบมาให้มีฟังก์ชั่นทั้ง Digital TV, Smart TV, 3D TV
 

        ระบบส่งโทรทัศน์แบบดิจิตอลนั้น ได้เข้ามาแก้ไขระบบส่งโทรทัศน์แบบอะนาล็อคหลายอย่างด้วยกัน เริ่มต้นจากคุณภาพของความคมชัดที่สามารถส่งได้สูงสุดถึงระดับ Full High Definition (Full HD) ในยุคแรก ของการส่งระบบทีวีแบบดิจิตอล ในปัจจุบันประเทศไทยสามารถส่งโทรทัศน์ดิจิตอลได้ถึงระดับความคมชัด 4K แล้ว  แน่นอนนอกจากขีดความสามารถในการส่งความคมชัดสูงสุดแล้ว ยังมีเรื่องของการทนต่อสัญญาณรบกวนสูงเพิ่มเข้ามาด้วย ดังนั้นอีกจุดแตกต่างที่เห็นได้ชัด ระหว่างระบบส่งโทรทัศน์แบบอะนาล็อค กับระบบส่งโทรทัศน์แบบดิจิตอล คือ การส่งสัญญาณภาพ และเสียงเป็นระบบดิจิตอล มีความทนทานต่อสัญญาณรบกวนสูง ทั้งสัญญาณรบกวนจากภายนอกแลสัญญาณรบกวนภายในที่เกิดจากเครื่องส่งเอง จึงทำให้คนยุคที่สอง ที่รับชมโทรทัศน์ในระบบส่งที่เป็นดิจิตอลแล้ว ไม่ค่อยได้พบเจอกับสัญญาณภาพ และเสียงที่มีปัญหาใดๆ จุดที่โดดเด่นไปกว่านั้น คือ การที่ส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิตอลนั้น ทำให้สามารถรองรับช่องรายการที่เกิดขึ้นจำนวนมาก ในยุคที่ทุกคนต้องการรับชมโทรทัศน์ แน่นอนจึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับธุรกิจผลิตรายการ ในยุคที่สองนี้ใครทำธุรกิจผลิตสื่อโฆษณา ผลิตรายการ ต่างก็เติบโตและมีจำนวนช่องรายการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จำนวนช่องรายการที่สามารถส่งได้สูงสุดในระบบการส่งแบบอะนาล็อค จะส่งได้ไม่เกิน 106 ช่องรายการ ซึ่งไม่เพียงพอกับจำนวนช่องรายการที่ต้องการส่ง จึงเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดการพัฒนาระบบส่งโทรทัศน์ กลายมาเป็นระบบส่งโทรทัศน์แบบดิจิตอล ที่มีความสามารถส่งช่องรายการได้มากถึง 600-800 ช่องรายการเลยทีเดียว ซึ่งตอบโจทย์ความต้องการของยุคนี้ได้เป็นอย่างดี
        ยุคที่สาม เมื่อการรับชมโทรทัศน์ คือ การรับชมภาพและเสียงที่มีความคมชัด และต้องการเลือกรับชมช่องรายการได้ครั้งละจำนวนมากๆ ซึ่งระบบส่งโทรทัศน์แบบดิจิตอลได้ตอบโจทย์เป็นอย่างดีแล้ว เหตุไฉนจึงต้องมีการพัฒนาระบบส่งโทรทัศน์อีก คำตอบ คือ ความต้องการของมนุษย์นั้นไม่มีวันสิ้นสุด ระบบส่งโทรทัศน์ไม่ได้เป็นเพียงระบบส่งโทรทัศน์เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป เฉกเช่นเดียวกับโทรศัพท์มือถือ ที่ไม่ได้มีไว้โทรเข้าโทรออกเพียงอย่างเดียว ระบบส่งโทรทัศน์ในยุคที่สามนี้มีความสามารถหลากหลาย แต่กล่าวโดยสรุปให้เข้าใจโดยง่าย คือ มีความสามารถส่งช่องรายการได้มากกว่าระบบส่งโทรทัศน์ดิจิตอลหลายเท่า มีความคมชัดเท่ากันทุกจุด ทนทานต่อสัญญาณรบกวนสูงเหมือนๆ กัน


รูปภาพที่ 7 ระบบไอพีทีวีทำให้สามารถสร้างประโยชน์จากโทรทัศน์ได้มากกกว่าการรับชมรายการทีวีเพียงอย่างเดียว
 
        โทรทัศน์ยุคที่สามแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับ โทรทัศน์แบบดิจิตอลในยุคที่สอง คือ ระบบส่งโทรทัศน์ในยุคที่สามนี้ สามารถทำให้โทรทัศน์เป็นมากกว่าโทรทัศน์ สามารถใส่สื่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์ โปรโมชั่น ต่างๆ เข้าไปในระบบส่งโทรทัศน์ได้ สามารถใส่ข้อมูลสินค้าและบริการได้ สามารถสั่งซื้อสินค้า และบริการต่างๆ ผ่านทางระบบส่งโทรทัศน์ได้เลย สามารถสั่งอาหารได้ สามารถซื้อภาพยนตร์ดูได้ จะเห็นได้ว่าระบบส่งโทรทัศน์ในยุคที่สามนี้เริ่มทำให้โทรทัศน์เครื่องหนึ่ง กลายเป็น ป้ายโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ป้ายโปรโมชั่น ร้านอาหาร โรงภาพยนตร์ ฯลฯ หรืออาจจะกล่าวได้ว่า เป็นทุกอย่างที่ต้องการให้เป็น และระบบส่งโทรทัศน์ในยุคที่สามที่เราพูดถึงนั้นก็คือ ระบบส่งโทรทัศน์ที่เรียกว่า “ระบบไอพีทีวี” นั่นเอง
 

  Super Storm

นัดสำรวจพื้นที่ หรือ ออกแบบ และ ประเมินราคา        ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ

 บริการหลังการขาย SLA 12 ชั่วโมง สำหรับกรุงเทพ และปริมณฑล, 24 ชั่วโมง สำหรับต่างจังหวัด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

  Facebook / QR Code

  @hstn.co.th / QR Code

  info@hstn.co.th

         โทร02-889-4701, 02-889-4702  แฟกซ์. 02-889-4700

         คอลเซ็นเตอร์ : 082-726-5320, 082-726-5321, 082-726-5322


 

This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy